“พรีไบโอติกส์” ต่างจาก “โปรไบโอติกส์” อย่างไร?
พรีไบโอติกส์ (Prebiotics) ที่เขาชอบพูดถึงกันคืออะไรกันแน่ ?พรีไบโอติกส์ คือ อาหารที่เรากินเข้าไปแล้วไม่สามารถย่อยได้ แต่จะถูกเจ้าแบคทีเรียแสนดีในลําไส้ใหญ่ของเราย่อยเป็นอาหาร และผลิตวิตะมินและสารอาหารต่างๆ เช่น กรดไขมันสายสั้นๆ ที่มีประโยชน์กับเราออกมาพรีไบโอติกส์ส่วนใหญ่เป็นสารประเภทคาร์โบไฮเดรตที่เราย่อยไม่ได้ มักพบในพืชผัก ผลไม้ต่างๆ นอกจากนี้คนเราก็ผลิตได้เช่นกัน โดยพบในน้ำนมแม่ซึ่งจะช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของแบคทีเรียที่ดีในเด็กทารก พรีไบโอติกส์มีหลายชนิด เช่น โอลิโกแซคคาไรด์ (Oligosaccharides), แป้งที่เราย่อยไม่ได้ (Resistant starch) เพคติน (Pectin) เบต้ากลูแคน (Beta-glucans) เป็นต้นแต่ไม่ใช่ว่าเส้นใยจากพืชทุกอย่างจะเป็นพรีไบโอติกส์ทั้งหมดนะคะ อย่างพวกเส้นใย เซลลูโลส (Cellulose) ที่พบในผัก ผลไม้ทั่วไป ไม่ได้เป็นพรีไบโอติกส์ เพราะเราก็ย่อยไม่ได้ เจ้าแบคทีเรียแสนดีก็ย่อยไม่ได้ แต่อาจจะมีประโยชน์ในด้านการเป็นไฟเบอร์ ที่ช่วยให้อุจจาระเป็นก้อนขับถ่ายง่ายมากกว่า“พรีไบโอติกส์” ต่างจาก โปรไบโอติกส์” อย่างไร?ถ้าจะพูดกันง่ายๆ ก็คือ พรีไบโอติกส์ก็คืออาหารของโปรไบโอติกส์ นั่นเอง โดยเราจะต้องมีทั้งเจ้าจุลินทรีย์แสนดี และ อาหารของมัน เหมือนดั่งปลูกต้นไม้นอกจาก จะมีเมล็ดพันธุ์ที่ดีแล้ว ก็ต้องคอยรดน้ำ ใส่ปุ๋ยเรื่อยๆ...